วันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

10 เทคนิค ของการเขียนบทความ (มือใหม่)

 


10 เทคนิค ของการเขียนบทความ (มือใหม่)

  ก่อนอื่นการเขียนบทความให้คนอื่นเราต้องวิเคราะห์คีย์เวิร์ดก่อน แต่มันจะเป็นแนว SEO เกินไป

เราแค่ต้องการเขียนบทความดีๆสักอัน ไม่ว่าจะลงในเว็บ บล็อก ไดอารี่ ( เกี่ยวมั้ยนะ ) หรือโซเชี่ยล อื่นๆ


1. เลือกหัวข้อที่จะเขียน

2. ระบุกลุ่มเป้าหมาย 

3. หาข้อมูลเบื้องต้นเรื่องที่จะทำ 

4. สร้างโครงร่างของบทความของคุณ 

5. วางแผนว่าจะเขียนอะไรบ้าง ก่อนหลัง 

6. เขียนบทความคร่าวๆ 

7. ลงมือเขียนบทความจริงจัง 

8. ตรวจเช็คความถูกต้อง 

9. คิดชื่อหัวข้อโดนๆ 

10. ทบทวนเนื้อหา 


10 เทคนิค ของการเขียนบทความ (มือใหม่)


เนื้อหา บทความ 



1. เลือกหัวข้อที่จะเขียน : 


คุณมีความหลงไหล มีความสนใจในเรื่องใด อยากจะเขียนเรื่องอะไร ที่คุณสนใจหรือถนัด หรืออยากจะทำ


2. ระบุกลุ่มเป้าหมาย : 


เมื่อได้เรื่องที่อยากจะเขียนแล้ว ต้องมาดูว่ากลุ่มเป้าหมายของบทความนั้นเป็นใคร

หรือว่า เราจะส่งบทความที่เราต้องการเขียนให้ใคร เป็นคนอื่น อย่างเช่นว่า เรื่องการดูแลครรภ์

มักมีหลุ่มเป้าหมายเป็นเหล่า ผู้หญิงแต่งงานและกำลังมีบุตร หรือ ฝ่ายชายที่กำลังเป็นพ่อคน

แต่ถ้าเราเลือกจะตั้งกลุ่มเป้าหมายเป็น อีกกลุ่มเช่น ลูกคนโต เช่น ต้องทำอย่างไรตอนแม่กำลังจะมีน้อง

 หรือ เตรียมตัวอย่างไรเมื่อจะมีสมาชิกใหม่ในครอบครัว หรือจะเป็นวิธีการเลี้ยงน้องคนพี่คนโต 


3. หาข้อมูลเบื้องต้นเรื่องที่จะทำ : 


ถ้ามันเป็นเรื่องที่เราถนัดและมีความรู้อยู่แล้ว เราอาจจะหาข้อมูลเพื่อกรองความถูกต้องหรือ

อัพเดทข้อมูลใหม่ถ้าเป็นเรื่องที่เราต้องการเขียน เราต้องหาข้อมูลเบื้องต้นว่าเขาพูดกันเรื่อง

อะไรบ้าง ในการเขียนบทความแนวนี้


4. สร้างโครงร่างของบทความของคุณ : 


มาลองดูว่าเราจะวางบทความพูดถึงเรื่องอะไรบ้าง จะดำเนินเรื่องยังไงใช้ข้อมูลไหน บางข้อมูล

บางเรื่องอาจมีข้อมูลที่เป็นคำศัพท์เทคนิค อย่างพวกโรค ต่างๆ มะเร็งปากมดลูก โรคเบาหวาน 

หรือคำภาษาอังกฤษ หรือคำที่เกี่ยวข้อกับคำศัพท์ที่ไม่คุ้น จะสื่อสารให้คนทั่วไปเข้าใจง่ายแต่

ข้อมูลไม่บิดออกไปจากเดิมยังไงไม่ทำให้ข้อมูลสื่อสารผิดพลาด


5. วางแผนว่าจะเขียนอะไรบ้าง ก่อนหลัง : 


มาวางแผนว่าเราจะพูดเกริ่นเรื่องอะไรก่อน เข้าเนื้อหาตรงไหนของบทความ และจะเข้าตอนจบ

ยังไงให้ลงตัวรวมถึงจะใส่ความคิดเห็นตัวเองลงไปตรงไหน ไม่ให้เป้นการชี้นำข้อมูล


6. เขียนบทความคร่าวๆ  : 


เพื่อเช็คดูว่าขาดอะไรไหมเรื่องอะไรที่อยากเพิ่ม เราจะได้เห็นภาพรวมของบทความทั้งหมดว่าจะใส่ไรเพิ่ม

ลดอะไรที่สิ้นเปลืองคำพูด ข้อมูลที่รกๆ เพื่อไม่ให้น่าเบื่อ


7. ลงมือเขียนบทความจริงจัง : 


คอนเท้นท์ อีก คิง Content is king ลงมือเขียนคอนเทนท์ จัดไปเลย


8. ตรวจเช็คความถูกต้อง : 


เช็คดูว่าข้อมูลตรงไหนเราผิด หรือเผลอใส่ข้อมูลสลับย่อ เข้าใจผิด ตรงไหน บางทีพิมพ์บทความ

ยาวๆอาจทำให้เผลอไปได้ รวมถึงความถูกผิดของตัวอักษร ของคำ การสะกด บางคำเขียนผิดไป

อาจทำให้ความหมายเปลี่ยนด้วยเช่นกัน


9. คิดชื่อหัวข้อโดนๆ : 


พอได้บทความแล้ว ครอบถ้วย เราก็มาเช็คกันว่า ในบทความเราสื่อสารอะไรยังไง เราอาจจะคิดชื่อ

ไว้คร่าวๆแล้วพอมาดูตัวบทความเราเกี่ยวกับอะไรบ้างก็พยายาม สื่อสารออกมาผ่านหัวข้อ

ของบทความ ให้ครบและกระชับหรือ ถ้ายาวก็ไม่ผิดแต่ต้องเข้าใจด้วย


10. ทบทวนเนื้อหา : 


ทบทวนเนื้อหาทั้งหมด ทั้งแสดงความถูกต้อง ของบทความ ข้อมูลและอื่นๆที่เราอยากจะเสริม

หรือลดออกไป เพื่อให้ข้อความ บทความเราดีที่สุดเพราะอาจจะมีบางคำเราใช้เยอะเกินไป บางที 

เราอาจจะใช้คำว่า อย่างเช่น / ดังนั้น  อะไรแบบนี้เยอะเกินไปจนดูเลี่ยน อาจจะใช้คำอื่นหรือลด 

ตัดคำบางคำออกไป





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น