10 เทคนิค ของการเขียนบทความ (มือใหม่)
ก่อนอื่นการเขียนบทความให้คนอื่นเราต้องวิเคราะห์คีย์เวิร์ดก่อน แต่มันจะเป็นแนว SEO เกินไป
เราแค่ต้องการเขียนบทความดีๆสักอัน ไม่ว่าจะลงในเว็บ บล็อก ไดอารี่ ( เกี่ยวมั้ยนะ ) หรือโซเชี่ยล อื่นๆ
1. เลือกหัวข้อที่จะเขียน
2. ระบุกลุ่มเป้าหมาย
3. หาข้อมูลเบื้องต้นเรื่องที่จะทำ
4. สร้างโครงร่างของบทความของคุณ
5. วางแผนว่าจะเขียนอะไรบ้าง ก่อนหลัง
6. เขียนบทความคร่าวๆ
7. ลงมือเขียนบทความจริงจัง
8. ตรวจเช็คความถูกต้อง
9. คิดชื่อหัวข้อโดนๆ
10. ทบทวนเนื้อหา
เนื้อหา บทความ
1. เลือกหัวข้อที่จะเขียน :
คุณมีความหลงไหล มีความสนใจในเรื่องใด อยากจะเขียนเรื่องอะไร ที่คุณสนใจหรือถนัด หรืออยากจะทำ
2. ระบุกลุ่มเป้าหมาย :
เมื่อได้เรื่องที่อยากจะเขียนแล้ว ต้องมาดูว่ากลุ่มเป้าหมายของบทความนั้นเป็นใคร
หรือว่า เราจะส่งบทความที่เราต้องการเขียนให้ใคร เป็นคนอื่น อย่างเช่นว่า เรื่องการดูแลครรภ์
มักมีหลุ่มเป้าหมายเป็นเหล่า ผู้หญิงแต่งงานและกำลังมีบุตร หรือ ฝ่ายชายที่กำลังเป็นพ่อคน
แต่ถ้าเราเลือกจะตั้งกลุ่มเป้าหมายเป็น อีกกลุ่มเช่น ลูกคนโต เช่น ต้องทำอย่างไรตอนแม่กำลังจะมีน้อง
หรือ เตรียมตัวอย่างไรเมื่อจะมีสมาชิกใหม่ในครอบครัว หรือจะเป็นวิธีการเลี้ยงน้องคนพี่คนโต
3. หาข้อมูลเบื้องต้นเรื่องที่จะทำ :
ถ้ามันเป็นเรื่องที่เราถนัดและมีความรู้อยู่แล้ว เราอาจจะหาข้อมูลเพื่อกรองความถูกต้องหรือ
อัพเดทข้อมูลใหม่ถ้าเป็นเรื่องที่เราต้องการเขียน เราต้องหาข้อมูลเบื้องต้นว่าเขาพูดกันเรื่อง
อะไรบ้าง ในการเขียนบทความแนวนี้
4. สร้างโครงร่างของบทความของคุณ :
มาลองดูว่าเราจะวางบทความพูดถึงเรื่องอะไรบ้าง จะดำเนินเรื่องยังไงใช้ข้อมูลไหน บางข้อมูล
บางเรื่องอาจมีข้อมูลที่เป็นคำศัพท์เทคนิค อย่างพวกโรค ต่างๆ มะเร็งปากมดลูก โรคเบาหวาน
หรือคำภาษาอังกฤษ หรือคำที่เกี่ยวข้อกับคำศัพท์ที่ไม่คุ้น จะสื่อสารให้คนทั่วไปเข้าใจง่ายแต่
ข้อมูลไม่บิดออกไปจากเดิมยังไงไม่ทำให้ข้อมูลสื่อสารผิดพลาด
5. วางแผนว่าจะเขียนอะไรบ้าง ก่อนหลัง :
มาวางแผนว่าเราจะพูดเกริ่นเรื่องอะไรก่อน เข้าเนื้อหาตรงไหนของบทความ และจะเข้าตอนจบ
ยังไงให้ลงตัวรวมถึงจะใส่ความคิดเห็นตัวเองลงไปตรงไหน ไม่ให้เป้นการชี้นำข้อมูล
6. เขียนบทความคร่าวๆ :
เพื่อเช็คดูว่าขาดอะไรไหมเรื่องอะไรที่อยากเพิ่ม เราจะได้เห็นภาพรวมของบทความทั้งหมดว่าจะใส่ไรเพิ่ม
ลดอะไรที่สิ้นเปลืองคำพูด ข้อมูลที่รกๆ เพื่อไม่ให้น่าเบื่อ
7. ลงมือเขียนบทความจริงจัง :
คอนเท้นท์ อีก คิง Content is king ลงมือเขียนคอนเทนท์ จัดไปเลย
8. ตรวจเช็คความถูกต้อง :
เช็คดูว่าข้อมูลตรงไหนเราผิด หรือเผลอใส่ข้อมูลสลับย่อ เข้าใจผิด ตรงไหน บางทีพิมพ์บทความ
ยาวๆอาจทำให้เผลอไปได้ รวมถึงความถูกผิดของตัวอักษร ของคำ การสะกด บางคำเขียนผิดไป
อาจทำให้ความหมายเปลี่ยนด้วยเช่นกัน
9. คิดชื่อหัวข้อโดนๆ :
พอได้บทความแล้ว ครอบถ้วย เราก็มาเช็คกันว่า ในบทความเราสื่อสารอะไรยังไง เราอาจจะคิดชื่อ
ไว้คร่าวๆแล้วพอมาดูตัวบทความเราเกี่ยวกับอะไรบ้างก็พยายาม สื่อสารออกมาผ่านหัวข้อ
ของบทความ ให้ครบและกระชับหรือ ถ้ายาวก็ไม่ผิดแต่ต้องเข้าใจด้วย
10. ทบทวนเนื้อหา :
ทบทวนเนื้อหาทั้งหมด ทั้งแสดงความถูกต้อง ของบทความ ข้อมูลและอื่นๆที่เราอยากจะเสริม
หรือลดออกไป เพื่อให้ข้อความ บทความเราดีที่สุดเพราะอาจจะมีบางคำเราใช้เยอะเกินไป บางที
เราอาจจะใช้คำว่า อย่างเช่น / ดังนั้น อะไรแบบนี้เยอะเกินไปจนดูเลี่ยน อาจจะใช้คำอื่นหรือลด
ตัดคำบางคำออกไป